วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ออกซิเจน กับเรื่องที่ควรรู้ก่อนการใช้งาน

ออกซิเจน

คุณสมบัติ
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่เป็นพิษ โปร่งใส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติดหรือช่วยให้เกิดการลุกไหม้
อยู่ในบรรยากาศประมาณ 21% ของปริมาตรอากาศ
อัตราการขยายตัวจากของเหลวเป็นก๊าซประมาณ
877 เท่า
มีจุดเดือดที่อุณหภูมิประมาณ
183 องศาเซลเซียส หนักกว่าอากาศในสภาวะก๊าซ

ตัวอย่างการใช้งาน
-  ใช้ในทางการแพทย์เพื่อบำบัดความผิดปกติของทางเดินหายใจ
-  ใช้ร่วมกับเชื้อเพลิง เช่น แก๊สอะเซทิลีน แก๊ส LPG  เพื่อใช้ในการเชื่อม ตัด งานต่างๆ
-  ใช้ในปฏิกิริยาเคมีใดๆ ที่ใช้อากาศเร่งให้เกิดปฏิกิริยานั้นเร็วขึ้น และให้ผลผลิตมากขึ้น
-  ใช้ในห้องทดลองปฏิกิริยาการควบคุมกระบวนการต่างๆ อุปกรณ์วิเคราะห์โลหะ
- ใช้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการผลิตสารเคมี เช่น การผลิตอะเซทิลีน เอทิลีนออกไซด์ เมทานอล ไวนิลคลอไรด์ เป็นต้น
- ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกกระดาษ

ข้อควรปฏิบัติในสถานที่ซึ่ง มีการเก็บหรือใช้งานออกซิเจน
- ไม่ควรมีหรือเก็บวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิด ที่สามารถติดไฟ และลุกไหม้ได้ทุกชนิดไว้ใกล้
- เก็บรักษา และใช้งานในที่ร่ม ซึ่งมีการระบายอากาศที่ดีเพียงพอ
- ห้ามสูบบุหรี่ หรือกระทำการใดๆ อันอาจทำให้เกิดประกายไฟ หรือความร้อนสูงในบริเวณที่ตั้งและสถานที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับออกซิเจนโดยเด็ดขาด
-  USE  NO OIL  ห้ามใช้สารหล่อลื่นทุกชนิดกับวาล์ว และวัสดุอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งเกี่ยวข้องกับออกซิเจน นอกจากสารหล่อลื่นที่ระบุและได้รับการรับรองว่าใช้ได้กับออกซิเจน

ข้อควรระวังเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ได้กับออกซิเจน
ผู้ใช้งานเกี่ยวกับแก๊สออกซิเจน ควรปฏิบัติดังนี้
- วัสดุอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่จะนำมาใช้งานเกี่ยวกับออกซิเจนจะต้องได้รับการรับรองว่าเป็นวัสดุอุปกรณ์ซึ่งใช้ได้กับออกซิเจน เช่น วาล์ว ข้อต่อ อุปกรณ์ปรับลดแรงดัน (Regulator)
- ห้ามนำวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดที่มีส่วนผสมของคาร์บอน คือ ไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันหล่อลื่น จาระบี ทินเนอร์ มาใช้ร่วมงานกับระบบออกซิเจนโดยเด็ดขาด ข้างท่ออกซิเจนมักจะมีคำว่า " USE  NO OIL"  ห้ามใช้สารหล่อลื่นทุกชนิดกับวาล์ว และวัสดุอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งเกี่ยวข้องกับออกซิเจนอย่างเด็ดขาด นอกจากสารหล่อลื่นที่ระบุและได้รับการรับรองว่าใช้ได้กับออกซิเจน
- ใช้วัสดุที่ได้รับการรับรองว่าปลอดภัยเมื่อใช้งานร่วมกับออกซิเจนเท่านั้น วัสดุดังกล่าว ได้แก่ ทองแดง ทองเหลือง และแสตนเลส สตีล (ใช้งานกับระบบ Low pressure เท่านั้น) หรือวัสดุอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแรงดันที่ใช้

วิธีตรวจสอบการรั่ว ออกซิเจน (Leak Check)
- โดยวิธี Pressure drop test หรือกักความดันไว้ ทิ้งไว้เป็นระยะเวลาพอสมควรแล้วมาดูที่ Pressure Gauge ว่าความดันที่กักไว้ตกลงบ้างหรือไม่
- ใช้น้ำยาทดสอบการรั่ว สำหรับออกซิเจนเท่านั้น และอย่าพยายามซ่อมรอยรั่วเอง


รูปตัวอย่างการใช้งาน
ออกซิเจนกับงานอุตสาหกรรม
ชุดเชื่อม ชุดตัด ขนาดต่างๆ สามารถเลือกและระบุสเป็คสินค้าได้ตามต้องการ


รูปตัวอย่างการใช้งาน
ออกซิเจนทางด้านการแพทย์ จะมีหลากหลายขนาดควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ท่อออกซิเจน รถเข็นท่อ ขนาดต่างๆ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น